วันเสาร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2558

การประเมินผลการเรียนรู้

  
http://darapornmulta.igetweb.com  ได้รวบรวมการประเมินผลการเรียนรู้ไว้ว่า การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนต้องอยู่บนหลักการพื้นฐานสองประการคือ การประเมินเพื่อพัฒนาผู้เรียนและเพื่อตัดสินผลการเรียน ในการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน ให้ประสบผลสำเร็จนั้น ผู้เรียนจะต้องได้รับการพัฒนาและประเมินตามตัวชี้วัดเพื่อให้บรรลุตามมาตรฐานการเรียนรู้ สะท้อนสมรรถนะสำคัญ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนซึ่งเป็นเป้าหมายหลักในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ในทุกระดับไม่ว่าจะเป็นระดับชั้นเรียน ระดับสถานศึกษา ระดับเขตพื้นที่การศึกษา และระดับชาติ การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ เป็นกระบวนการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนโดยใช้ผลการประเมินเป็นข้อมูลและสารสนเทศที่แสดงพัฒนาการ ความก้าวหน้า และความสำเร็จทางการเรียนของผู้เรียน ตลอดจนข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิด การพัฒนาและเรียนรู้อย่างเต็มตามศักยภาพ
การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ แบ่งออกเป็น ๔ ระดับ ได้แก่ ระดับชั้นเรียน ระดับสถานศึกษา ระดับเขตพื้นที่การศึกษา และระดับชาติ
เกณฑ์การวัดและประเมินผลการเรียน
๑. การตัดสิน การให้ระดับและการรายงานผลการเรียน
         ๑.๑ การตัดสินผลการเรียน
         ๑.๒ การให้ระดับผลการเรียน
         ๑.๓ การรายงานผลการเรียน

๒. เกณฑ์การจบการศึกษา
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน กำหนดเกณฑ์กลางสำหรับการจบการศึกษาเป็น ๓ระดับ คือ ระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

 http://petcharawadee1.blogspot.com/   ได้รวบรวมการประเมินผลการเรียนรู้ไว้ว่า การประเมินผล (Evaluation) หมายถึง กระบวนการในการตัดสินคุณค่า ให้กับสิ่งต่าง ๆ โดยนำผลที่ได้จากการวัดมาพิจารณาตัดสินเทียบกับเกณฑ์ที่ตั้งไว้ว่ามีคุณภาพในระดับใด เช่น ดี พอใช้ ไม่ดี

เครื่องมือที่ใช้ในการวัดผลการศึกษามีหลายชนิด แต่ละชนิดเหมาะสมกับการวัดพฤติกรรมทางการศึกษาที่แตกต่างกัน ดังนี้
1. การทดสอบ(Testing)หมายถึง
2. การสังเกต (Observation)
3. แบบสำรวจรายการ (Checklist)
4. มาตรประมาณค่า (Rating Scale)
5. การจดบันทึก (Records)
6. การสัมภาษณ์ (Interview)
7. แบบสอบถาม (Questionaire)
8. สังคมมิติ (Sociometry)
       การวัดผลมีประโยชน์ต่อการศึกษามากมาย เพราะช่วยให้ผู้เกี่ยวข้องทราบข้อมูลต่าง ที่จะนำมาใช้ในการวางแผน พัฒนา และปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องต่าง ๆ ทางการศึกษา ผู้เกี่ยวข้องที่ได้รับประโยชน์จากการวัดผลการศึกษา มีดังนี้

1.นักเรียนเป็นผู้ที่ได้รับประโยชน์จากการวัดผลการศึกษาโดยตรง ดังนี้
1.1ช่วยให้นักเรียนรู้สถานภาพของตนเองว่ามีจุดเด่นอะไรที่ควรพัฒนา และมีจุดบกพร่องอะไรที่ควาปรับปรุงแก้ไข
1.2ช่วยเป็นข้อมูลในการตัดสินใจเลือกสาขาวิชาที่จะศึกษาต่อ และตัดสินใจเลือกประกอบอาชีพให้เหมาะสมกับความสามารถของนักเรียน
1.3 ช่วยกระตุ้นให้ผู้เรียนมีความกระตือรือล้นในการเรียน

2. ครูได้รับประโยชน์จากการวัดผลการศึกษาเพื่อนำมาปรับปรุงผู้เรียนและปรับปรุงตนเอง ดังนี้
2.1 ช่วยให้ครูรู้สภาพของนักเรียนว่า นักรียนคนใดที่ควรพัฒนาส่งเสริม นักเรียนคนใดควรปรับปรุงแก้ไข
2.2 ช่วยให้ครูรู้ว่ากิจกรรมการเรียนรู้ที่จัดขึ้นเหมาะสม หรือสมควรปรับปรุงแก้ไข
2.3 ช่วยให้ครูรู้ข้อมูลเพื่อนำไปใช้วางแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับลักษณะของผู้เรียน

3. ผู้ปกครอง ได้รับประโยชน์จากการวัดผลเกี่ยวกับตัวผู้เรียน ดังนี้
3.1 ช่วยให้ทราบศักยภาพของบุตรหลานว่าควรส่งเสริม พัฒนาหรือปรับปรุงแก้ไขเรื่องใด
3.2 ช่วยให้ทราบความสามารถบุตร หลาน เพื่อเป็นข้อมูลในการส่งเสริม สนับสนุน เกี่ยวกับการเลือกศึกษาต่อ หรือเลือกอาชีพ

4. ผู้บริหารได้รับประโยชน์จากการวัดผลการศึกษา ดังนี้
4.1 ช่วยให้ทราบว่าการจัดการศึกษาของสถานศึกษามีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานหรือไม่
4.2 ช่วยให้ทราบข้อมูลผลการเรียนของนักเรียนเพื่อใช้ในการกำหนดนโยบาย การวางแผน การพัฒนา และปรับปรุงแก้ไขการเรียนการสอนของสถานศึกษา
4.3 ช่วยในการคัดเลือกนักเรียน คัดเลือกครู และคัดเลือกบุคลกรต่าง ๆ ที่จะเข้ามาเรียนและทำงานในสถานศึกษา

http://www.slideshare.net/ssusera4dfe0/ss-9345840 ได้รวบรวมการประเมินผลการเรียนรู้ไว้ว่า
ความหมายของการวัดผล การทดสอบ และการประเมินผล การวัดผลการ ( Measurement) หมายถึง กระบวนการหาปริมาณ หรือจำนวนของสิ่งต่าง ๆ โดยใช้เครื่องมืออย่างใดอย่างหนึ่ง ผลจากการวัดจะออกมาเป็นตัวเลข หรือสัญลักษณ์ การทดสอบการศึกษา หมายถึง กระบวนการวัดผลอย่างหนึ่งที่กระทำอย่างมีระบบเพื่อใช้ในการเปรียบเทียบความสามารถของบุคคล โดยใช้ข้อสอบหรือคำถามไปกระตุ้นให้สมองแสดงพฤติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งออกมา การประเมินผล ( Evaluation) หมายถึง การตัดสิน หรือวินิจฉัยสิ่งต่าง ๆ ที่ได้จากการวัดผล
ลักษณะพฤติกรรมที่ต้องวัด บลูม ( Bloom) และคณะ ได้แบ่งพฤติกรรมที่จะวัดออกเป็น 3 ลักษณะ 1. วัดพฤติกรรมด้านพุทธิพิสัย ได้แก่ การวัดเกี่ยวกับ ความรู้ ความคิด ( วัดด้านสมอง ) 2. วัดพฤติกรรมด้านจิตพิสัย ได้แก่ การวัดเกี่ยวกับความรู้สึกนึกคิด ( วัดด้านจิตใจ ) 3. วัดพฤติกรรมด้านทักษะพิสัย

จุดมุ่งหมายของการวัดผลการศึกษา 1. วัดผลเพื่อและพัฒนาสมรรถภาพของนักเรียน หมายถึง การวัดผลเพื่อดูว่านักเรียนบกพร่องหรือไม่เข้าใจในเรื่องใดอย่างไร แล้วครูพยายามอบรมสั่งสอนให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้และมีความเจริญ งอกงามตามศักยภาพของนักเรียน 2. วัดผลเพื่อวินิจฉัย หมายถึง การวัดผลเพื่อค้นหาจุดบกพร่องของนักเรียนที่มีปัญหาว่า ยังไม่เกิดการเรียนรู้ตรงจุดใด เพื่อหาทางช่วยเหลือ 3. วัดผลเพื่อจัดอันดับหรือจัดตำแหน่ง หมายถึง การวัดผลเพื่อจัดอันดับความสามารถของนักเรียนในกลุ่มเดียวกันว่าใครเก่งกว่า ใครควรได้อันที่ 1 2 3

ต้องวัดให้ตรงกับจุดมุ่งหมายของการเรียนการสอน คือ การวัดผลจะเป็นสิ่งตรวจสอบผลจากการสอนของครูว่า นักเรียนเกิดพฤติกรรมตามที่ระบุไว้ในจุดมุ่งหมายการสอนมากน้อยเพียงใด 2. เลือกใช้เครื่องมือวัดที่ดีและเหมาะสม การวัดผลครูต้องพยายามเลือกใช้เครื่องมือวัดที่มีคุณภาพ ใช้เครื่องมือวัดหลาย ๆ อย่าง เพื่อช่วยให้การวัดถูกต้องสมบูรณ์ 3. ระวังความคลาดเคลื่อนหรือความผิดพลาดของการวัด เมื่อจะใช้เครื่องมือชนิดใด ต้องระวังความบกพร่องของเครื่องมือหรือวิธีการวัดของครู หลักการวัดผลการศึกษา
    เครื่องมือที่ใช้ในการวัดผล 1. การสังเกต ( Observation) คือ การพิจารณาปรากฎการณ์ต่าง ๆ ที่เกิด     ขึ้น เพื่อค้นหาความจริงบางประการ โดยอาศัยประสาท สัมผัสของผู้สังเกตโดยตรง รูปแบบของการ      สังเกต 1. การสังเกตโดยผู้สังเกตเข้าไปร่วมในเหตุการณ์หรือกิจกรรม หมายถึง การสังเกตที่ผู้สังเกตเข้าไปมีส่วนร่วม หรือคลุกคลีในหมู่ผู้ถูกสังเกต และอาจร่มทำกิจกรรมด้วยกัน 2. การสังเกตโดยผู้สังเกตไม่ได้เข้าไปร่วมในเหตุการณ์ หมายถึง การสังเกตที่ผู้ถูกสังเกตอยู่ภายนอกวงของผู้ถูกสังเกต คือสังเกตในฐานะเป็นบุคคลภายนอก การสังเกตแบบ นี้แบ่งออกเป็น 2 ชนิด 2.1 การสังเกตแบบไม่มีโครงสร้าง หมายถึง การสังเกตที่ผู้สังเกตไม่ได้กำหนดหัวเรื่องเฉพาะเอาไว้ 2.2 การสังเกตแบบมีโครงสร้าง หมายถึง การสังเกตที่ผู้สังเกตกำหนดเรื่องที่จะสังเกตเฉพาะเอาไว้

สรุป
       การประเมินผล (Evaluation) หมายถึง กระบวนการในการตัดสินคุณค่า ให้กับสิ่งต่าง ๆ โดยนำผลที่ได้จากการวัดมาพิจารณาตัดสินเทียบกับเกณฑ์ที่ตั้งไว้ว่ามีคุณภาพในระดับใด เช่น ดี พอใช้ ไม่ดี โดยใช้เครื่องมืออย่างใดอย่างหนึ่ง ผลจากการวัดจะออกมาเป็นตัวเลข หรือสัญลักษณ์ 



ที่มา

http://darapornmulta.igetweb.com.การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน.เข้าถึงเมื่อ 21 กรกฏาคม 2558.

 http://petcharawadee1.blogspot.com/.การวัดผลประเมินผลการศึกษา.เข้าถึงเมื่อ 21 กรกฏาคม 2558.

 http://www.slideshare.net/ssusera4dfe0/ss-9345840.การวัดผลประเมินผลการเรียนรู้.เข้าถึงเมื่อ 21 กรกฏาคม 2558.


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น